เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีตู้สาขาโทรศัพท์
การติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงาน องค์กร หรือสำนักงานเดียวกัน เมื่อต้องการพูดคุยหรือติดต่อประสานงานกันบ่อยๆ
จะประสบปัญหาอย่างมาก การเดินไปพบหรือพูดคุยกัน ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ถ้ามีอุปกรณ์สื่อสาร จะทำให้การติดต่อประสานงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว
หากติดตั้งโทรศัพท์สายนอกจากชุมสายโทรศัพท์ของผู้ให้บริการทุกชั้นทุกสำนักงาน ก็จะทำให้สะดวกขึ้น แต่คงมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
เช่น ค่าเช่าเลขหมายรายเดือนทุกๆเดือน และค่าบริการจากการเรียกหรือการโทรแต่ละครั้ง
เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีตู้สาขาโทรศัพท์
การแก้ปัญหาดังกล่าว ที่นิยมใช้ คือ ติดตั้งตู้สาขาโทรศัพท์ไว้ในสำนักงาน เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งจะทำให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
และไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายในการติดต่อภายใน แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าต้องการติดต่อกับบริษัทหรือหน่วยงานภายนอก ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
โดยตู้สาขาโทรศัพท์จะเชื่อมโยงเข้ากับโครงข่ายโทรศัพท์สาธารณะ
การเรียกที่เกิดขึ้นกับชุมสายโทรศัพท์ตู้สาขา
จะเกิดขึ้น 5 กรณี คือ
1.การเรียกภายในตู้สาขา ( Internal Call )
2.การเรียกพนักงานสลับสาย ( Operator Call )
3.การเรียกออกไปยังชุมสายโทรศัพท์ ( Outgoing Call )
4.การเรียกเข้ามาจากชุมสายโทรศัพท์ ( Incoming Call )
5.การเรียกผ่านไปยังตู้สาขาโทรศัพท์อื่นๆ ( Transit Call )
กรณีที่ 1 การเรียกภายในตู้สาขา(Internal Call ) เช่น เครื่องโทรศัพท์ เลขหมาย 11 เรียกไปยังเครื่องโทรศัพท์ 17 หรือ เลขหมาย 18 เรียกไปยังเลขหมาย 12
กรณีที่ 2 การเรียกพนักงานสลับสาย ( Operator Call ) เพื่อช่วยทำการเรียกออกไปยังชุมสายโทรศัพท์ หรือเพื่อช่วยทำการเรียกภายใน เพื่อการบริการอื่นๆได้แก่ การสอบถามหมายเลข
กรณีที่ 3 การเรียกออกไปยังชุมสายโทรศัพท์ ( Outgoing Call ) เช่น เครื่องโทรศัพท์เลขหมายภายใน 15 เรียกออกไปยังเลขหมายภายนอก
กรณีที่ 4 การเรียกเข้ามาจากชุมสายโทรศัพท์ ( Incoming Call ) เช่น เลขหมายภายนอกเรียกเข้ามายังเครื่องโทรศัพท์เลขหมายภายใน 14
กรณีที่ 5 การเรียกผ่านไปยังตู้สาขาโทรศัพท์อื่นๆ ( Transit Call ) โดยการเรียกที่เกิดขึ้นทั้ง 5 วิธีจะมีหลักการทำงานเหมือนกับชุมสายโทรศัพท์ทุกประการ ยกเว้นกรณีที่ 2
ประเภทของตู้สาขา
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ตู้สาขาแบบพนักงานต่อ
2. ตู้สาขาแบบอัตโนมัติ แบ่งออกเป็นย่อยๆ คือ
1.) Analog PABX
2.) Digital PABX
3.) IP PBX
ตู้สาขาโทรศัพท์แบบพนักงานต่อ ( Private Manual Branch Exchange : PMBX )
เป็นตู้สาขาที่มีพนักงานสลับสาย ( Operator ) เป็นผู้ทำหน้าที่ต่อสายให้
ตู้สาขาโทรศัพท์แบบนี้ใช้อุปกรณ์ตัวต่อเป็นตู้สวิตซ์บอร์ด กรณีการเรียกต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่ากรณีใดๆจะกระทำโดยพนักงานสลับสายทั้งหมด ปัจจุบันตู้สาขาแบบนี้ได้ยกเลิกการใช้งานแล้ว
ตู้สาขาโทรศัพท์แบบอัตโนมัติ ( Private Automatic Branch Exchange : PABX )
ตู้สาขาในปัจจุบันนี้ จริงๆแล้วเป็นระบบอัตโนมัติหมดแล้ว ซึ่งอาจจะเรียกว่า PBX ก็ได้ แต่ที่เรียก PABX เพราะเป็นคำที่ติดปาก เท่านั้น โดยสรุปแล้ว ตู้สาขาแบบนี้ยังแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ) ตู้สาขาแบบอนาล็อก ( Analog PABX )
2.) ตู้สาขาแบบดิจิตอล ( Digital PABX )
3.) ตู้สาขาแบบ IP ( IP -PBX )
โครงข่ายโทรศัพท์ตู้สาขาแบบ IP-PBX
มาตรฐานของเทคโนโลยี VoIP
1. มาตรฐาน H.323 โดยมาตรฐานนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับระบบเครือข่ายที่ใช้ IP เนื่องจากมีการทำงานที่ค่อนข้างช้า โดยปกติจะใช้ก็ต่อเมื่อในระบบเดิมมีการใช้มาตรฐาน H.323 เดิมอยู่แล้วเท่านั้น
2. มาตรฐาน SIP :Session Initiation Protocol เป็นมาตรฐานใหม่ ในการใช้งานของเทคโนโลยี VoIP ซึ่งมาตรฐานนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบ IP โดยเฉพาะเหมาะสำหรับการติดตั้งตู้สาขาระบบใหม่ โดยเป็นมาตรฐานที่มีความน่าเชื่อถือสูง
โครงสร้างของตู้สาขาโทรศัพท์
ประกอบด้วย 3 ส่วน
1. ภาคตัวต่อวงจร ( Switching Part )
2. ภาคควบคุมหลัก ( Control Part )
3. ภาคพนักงานสลับสาย ( Operator Part )
ภาคตัวต่อวงจร ( Switching Part ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ต่อการเรียกที่เกิดขึ้นในกรณีต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมสาย
ภาคควบคุมหลัก ( Control Part ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ ควบคุมการต่อการเรียก เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบและการเลือกอุปกรณ์ การออกคำสั่ง เพื่อการต่อการสนทนา การควบคุมการรับส่งสัญญาณ ( Signaling )และเสียง Tone อื่นๆในการเรียกแต่ละกรณี
ภาคพนักงานสลับสาย ( Operator Part ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สนับสนุนในการเรียกมายังพนักงานสลับสาย
หลักการทำงานของตู้สาขาโทรศัพท์อัตโนมัติ
เกิดขึ้น 3 กรณี คือ
กรณีที่ 1 การเรียกพนักงานสลับสาย โดยที่พนักงานสลับสายจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการต่อการเรียกในกรณีต่างๆ เช่น การเรียกภายในตู้สาขา การเรียกเข้าและเรียกออกจากชุมสายโทรศัพท์ทั้งระบบ DOD และระบบ DID ในระบบ DOD นั้นพนักงานสลับสายจะมีหน้าที่ส่วนใหญ่คือ การรับการเรียกเข้ามาจากตู้สาขา เพื่อต่อไปยังเครื่องภายในตามความต้องการของผู้เรียก ในระบบ DID นั้นแม้การเรียกทุกประเภทจะกระทำได้โดยอัตโนมัติ แต่พนักงานสลับสายยังคงต้องคอยช่วยทำการต่อการเรียกให้ตามเวลาที่นัดหมาย
กรณีที่ 2 การเรียกออกไปยังชุมสายโทรศัพท์
กรณีที่ 3 การเรียกเข้าจากชุมสายโทรศัพท์
ขีดความสามารถของตู้สาขาโทรศัพท์ในปัจจุบัน
ผู้เรียกสามารถเรียกไปยังหมายเลขภายในได้โดยตรง ( Direct Inward Station Access : DISA ) โดยไม่ต้องผ่านโอเปอเรเตอร์
มีระบบตอบรับอัตโนมัติพร้อมข้อความต้อนรับ ( Out Going Massage : OGM ) โดยที่ข้อความตอบรับนี้สามารถเลือกใช้แบบมาตรฐานของผู้ผลิต หรือ จะบันทึกใหม่ตามความต้องการของผู้ใช้ได้
มีระบบแสดงหมายเลขโทรเข้า ( Caller ID )โดยแสดงหมายเลขโทรเข้าทั้งสายนอกและสายในก่อนที่จะรับสาย โดยใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์ที่มีหน้าจอแสดง
มีระบบการเลือกเส้นทางโทรออกที่ประหยัดที่สุด ( Least Cost Routing ) โดยเฉพาะสายนอกที่ตั้งโปรแกรมให้ผ่าน Y-Tel 1234 ระบบตู้สาขาจะเพิ่มให้โดยอัตโนมัติ
มีระบบฝากข้อความ ( Voice Mail ) สามารถบันทึกข้อความไว้ที่เครื่องโทรศัพท์ กรณีไม่ได้นั่งประจำอยู่ที่โต๊ะทำงานหรือไม่สะดวกที่จะรับสาย
มีระบบตั้งหมายเลขให้ตรงกับหมายเลขห้อง เช่น กรณีตู้สาขาสำหรับอพาร์ตเมนต์หรือคอนโดมิเนียมหรือโรงแรม เพื่อความสะดวกในการจดจำเลขหมาย
มีระบบตั้งวงเงินการใช้โทรศัพท์ ( Credit Use )
มีระบบตั้งเวลาในการคุยสายนอก